DW หมดอายุ ดูยังไง ?

หุ้น DW หมดอายุ

นอกจากการมองเทรนด์ของตลาดแล้ว วันที่ DW หมดอายุก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่นักลงทุนจำเป็นต้องนำมาพิจารณาเพื่อการเก็งกำไรและบริหารความเสี่ยง

DW เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมในหมู่นักลงทุนในประเทศไทยเพราะว่าเป็นการลงทุนที่สามารถลงทุนได้เลยผ่านบัญชการลงทุนปกติ สามารถถือในพอร์ตร่วมกับหุ้นสามัญปกติได้ โดยนักลงทุนจะได้รับผลประโยชน์จากอัตราทดเพื่อเพิ่มโอกาสในการเกร็งกำไร ในช่วงที่ตลาดไม่มีการเคลื่อนไหนมากนักหรือในช่วงที่ตลาดมีแนวโน้มเป็นขาลง DW จึงเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่น่านำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยง

อย่างไรก็ตามการเทรด DW ก็มีเงื่อนไขต่างๆ ที่หากนักลงทุนไม่ศึกษาให้รอบคอบก็จะทำให้เสียผลประโยชน์ได้ หนึ่งในนั้นก็คือวันหมดอายุของ DW โดยเมื่อถึงวันหมดอายุของ DW แล้ว เงินส่วนต่างจะถูกดำเนินการคืนเข้าเจ้าของบัญชีทันที ไม่สามารถแลกเปลี่ยนเป็นหลักทรัพย์อ้างอิงหรือที่เรียกว่า “หุ้นแม่” ได้

การดูวันหมดอายุของ DW

วันที่หมดอายุของ DW เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ดังนั้นจึงต้องแสดงเอาไว้บนสัญลักษณ์ของ DW เลยทีเดียว โดยปีและเดือนที่หมดอายุของ DW จะอยู่หลังจากชื่อหลักทรัพย์อ้างอิง รหัสผู้ออกหลักทรัพย์และประเภทของ DW ว่าเป็น Call DW หรือ Put DW   

ทางตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (The Stock Exchange of Thailand) หรือ SET ได้กำหนดการระบุสัญลักษณ์ของ DW โดยระบุชื่อหลักทรัพย์อ้างอิง รหัสผู้ออกหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ ประเภทของ DW ปีและเดือนที่หมดอายุและซีรีย์ของ DW ดังต่อไปนี้

UUUUUUIICYYMMA

UUUUUU = ชื่อหลักทรัพย์อ้างอิง

II = รหัสผู้ออกหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์

C = ประเภทของหุ้น DW

YY = เลขสองหลักสุดท้ายของปี พ.ศ. ที่สัญญา DW จะหมดอายุ

MM = เดือนที่สัญญา DW จะหมดอายุ

A = ซีรีย์ของหุ้น DW โดยจะมีตั้งแต่ A-Z

หุ้น DW หมดอายุ

ระยะเวลาการหมดอายุของ DW ปกติ

ปกติแล้ว DW จะมีอายุเพียงแค่ 4 – 6 เดือนเท่านั้น ดังนั้นนักลงทุนควรวางแผนให้ดีก่อนจะซื้อ DW ว่าจะถือหุ้นดังกล่าวเป็นระยะเวลาเท่าไหร่

ด้วยเวลาที่จำกัดเช่นนี้ทำให้ DW เหมาะกับนักลงทุนที่ถนัดการใช้กลยุทธิ์การลงทุนระยะสั้นถึงกลางเท่านั้น เพราะเมื่อถึงวันที่ DW หมดอายุ เงินส่วนต่างจากการลงทุนใน DW ตัวดังกล่าวจะกลับเข้าพอร์ตนักลงทุนทันทีไม่ว่านักลงทุนจะได้กำไรหรือขาดทุน

ควรถือ DW ที่อายุเท่าไหร่? ควรถือ DW ที่ใกล้วันหมดอายุหรือไม่?

การถือหุ้นที่ใกล้วันหมดอายุอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับมือใหม่ เพราะการที่ DW ยิ่งเขยิบเข้าใกล้วันหมดอายุก็จะยิ่งส่งผลต่อค่าของ DW อย่างค่าเสื่อมเวลา (time decay)

ค่าเสื่อมเวลา (time decay) ค่าเสื่อมเวลาจะส่งผลกับราคาของ DW เวลาที่ผ่านไป 1 วันจะทำให้ราคาของ DW ก็จะลดลงเรื่อยๆ และทำให้ราคาของ DW ไม่สอดคล้องกับหลักทรัพย์อ้างอิง หากนักลงทุนลงทุนใน DW ที่ราคาไม่ขึ้นไม่ลง ก็อาจจะขาดทุนเรื่อยๆ เนื่องจากค่าเสื่อมเวลา นอกจากนั้น ในกรณีที่ลงทุนใน DW ที่สภาพคล่องต่ำ ราคาไม่ขยับ ก็อาจจะเสี่ยงให้นักลงทุนขาดทุนจากปัจจัยค่าเสื่อมเวลาดังกล่าวได้เช่นเดียวกัน 

ถือ DW จนหมดอายุจะเป็นอย่างไร?

หากนักลงทุนถือ DW จนหมดอายุ ก็จะได้รับเงินส่วนต่างคืนในกรณีที่ได้กำไร หากไม่ได้กำไรหรือติดลบก็จะไม่ได้รับเงินต้นคืน

สูตรการคำนวณเงินคืนกรณี DW หมดอายุ

  • สัญญาประเภท Call DW = เงินสดส่วนต่างต่อ DW 1 หน่วย = (ราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิง – ราคาใช้สิทธิของหุ้น DW) x อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วยของหุ้น DW
  • สัญญาประเภท Put DW = เงินสดส่วนต่างต่อ DW 1 หน่วย = (ราคาปิดของสินทรัพย์อ้างอิง – ราคาใช้สิทธิของหุ้น DW) x อัตราการใช้สิทธิต่อหน่วยของหุ้น DW
หุ้น DW หมดอายุ

สถานะของ DW

  • วิธีสังเกตง่ายๆ สำหรับนักลงทุนที่ต้องการจะดูว่า DW จะได้รับเงินคืนหรือไม่ สามารถดูที่สถานะของ DW ได้
  • สถานะ ITM (In The Money) นักลงทุนจะได้รับเงินส่วนต่างหรือที่เรียกว่า สิทธิ์อัตโนมัต เมื่อถือ DW จนหมดอายุ

เงินจากสิทธิ์อัตโนมัติของผู้ถือ DW จนหมดอายุจะได้รับช้ากว่า

อีกข้อสังเกตหนึ่งของการถือ DW จนหมดอายุสัญญาก็คือเงินที่ได้จากสิทธิ์อัตโนมัตจะอยู่ที่ T+8 คือต้องรอจากวันที่หมดอายุถึง 8 วันกว่าเงินจะเข้าบัญชี ขณะที่หากนักลงทุนเป็นผู้ขายเอง ณ วันสุดท้ายที่ DW จะหมดอายุ เงินจะเข้าบัญชี T+2 หรือ 2 วันนับจากวันที่ทำการขาย DW

ดูเหมือนว่าการถือ DW จนหมดอายุและถูกสิทธิ์อัตโนมัตบังคับขายจะมีข้อเสียมากกว่าข้อดี จึงไม่แนะนำให้ถือยาวจนหมดายุ ควรจะวางแผนการเล่นอย่างละเอียดว่าจะถือและขายทำกำไรภายในกี่วันและหากไม่เป็นไปตามแผนจะต้องทำอย่างไรต่อไป จะซ้อนซื้อเพิ่ม จะตัดใจขายทิ้งเพื่อ Cut loss หรือจะถือไปต่อได้อีกเป็นระยะเวลาเท่าไหร่ก่อนจะขายเพื่อป้องกันการขาดทุนจนเกินรับได้ ลงทุนกับ DW จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างจากการลงทุนทั่วไปเพราะมีเงื่อนไขต่างๆ ในเรื่องของระยะเวลาการลงทุนเพิ่มขึ้นมา นักลงทุนควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขของการลงทุนในลักษณะนี้ให้ดีและวิเคราะห์ว่าเหมาะกับรูปแบบและกลยุทธิ์ในการลงทุนของตนเองหรือไม่ก่อนการลงทุนทุกครั้ง