การเทรด Forex จำเป็นต้องฝึกฝนทักษะในการวิเคราะห์ Forex แนวทางที่จะทำการเปิดหรือปิดออเดอร์ โดยพิจารณาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโลกเป็นหลัก
Forex คืออะไร ? การเทรด Forex หรือ Foreign Exchange จะมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกับสินทรัพย์เสี่ยงอื่นๆ ในส่วนที่เหมือนกันก็คือนักเทรด Forex อาจจะเลือกใช้เทคนิคในการอ่านและวิเคราะห์กราฟ (Technical Analysis) เพื่อวางแผนการเทรด ส่วนข้อที่แตกต่างกับการเทรดหุ้นก็คือนักลงทุนจะต้องเข้าใจหลักเศรษฐศาสตร์มหภาค (Macro Economy) อย่างถ่องแท้และเข้าใจว่าสภาพเศรษฐกิจแบบใดจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้มเป็นอย่างไรในอนาคต นอกจากนั้น ความรวดเร็วในการติดตามและความแม่นยำในการวิเคราะห์ข่าวสารยังมีความจำเป็นไม่แพ้ทักษะการอ่านกราฟทางเทคนิคเลยทีเดียว
วิเคราะห์ Forex หาแนวโน้มของตลาด
ก่อนจะทำการวิเคราะห์และวางแผนการเข้าทำกำไร เราจำเป็นต้องรู้ว่าแนวโน้มปัจจุบันของตลาดเป็นอย่างไร หรือเรียกว่า Trend ของตลาดก็ได้ เราจะต้อจะสามารถแบ่งออกเป็น 3 แนวโน้มด้วยกัน
- แนวโน้มขาขึ้น (Up-trend) เหมาะที่จะซื้อหรือ Long
- แนวโน้มขาลง (Down-trend) เหมาะที่จะทำการขายหรือขาย Short (Short-selling)
- ไซด์เวย์ (Sideways) เหมาะสำหรับทั้งซื้อและขายโดยใช้การหาแนวรับและแนวต้านเป็นหลัก
ในการวิเคราะห์กราฟ Forex เพื่อหาแนวโน้มเราอาจจะแบ่งออกเป็น 2 วิธี
- วิเคราะห์กราฟ Forex
การวิเคราะห์กราฟหรือกราฟทางเทคนิค (Technical Analysis) เป็นทักษะพื้นฐานที่นักเทรดควรจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ กราฟทางเทคนิคเป็นเครื่องมือที่นักเทรดทั่วโลกใช้ ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้น ดัชนี คริปโตหรือสินทรัพย์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม เทคนิคในการอ่านกราฟก็มีความหลากหลายและเฉพาะตัว รวมถึงมี Indicator ต่างๆ ให้นักเทรดเลือกใช้ตามใจชอบ

เทคนิคการวิเคราะห์ Forex โดยการอ่านกราฟทางเทคนิค (Technical Analysis)
- การหาแนวต้านและแนวรับ (Support , Resistant)
เป็นการหากรอบของราคา แนวต้านกรอบของราคาที่ของสินทรัพย์นั้นๆ ขึ้นไปชนและตกลงมาเสมอ (Resistant) ส่วนแนวรับ (Support) คือกรอบของราคาที่สินทรัพย์นั้นๆ ลงมาและเด้งขึ้นไปบ่อยครั้ง ยิ่งราคาไปชนแนวใดแนวหนึ่งบ่อยๆ ก็จะยิ่งกลายเป็นแนวต้านและแนวรับที่แข็งแกร่งมากเท่านั้น
การวิเคราะห์ Forex โดยใช้การอ่านกราฟหาแนวรับและแนวต้านคือวิธีการพื้นฐานที่นักเทรดจำเป็นต้องรู้ อีกทั้งยังเป็นวิธีที่เรียบง่ายที่สุด หากราคาพุ่งไปหาแนวต้านเดิม ก็มีแนวโน้มอยู่ 2 อย่างก็คือจะถูกแรงขายกดลงมาเหมือนในอดีตหรือพุ่งทะลุขึ้นไปหาแนวต้านถัดไป (ซึ่งแนวต้านเดิมจะกลายเป็นแนวรับโดยอัตโนมัติ) ดังนั้นเทคนิคนี้จะเหมาะกับตลาดช่วง Side Way
การตีเทรนด์ไลน์ (Trend line)
การตีเทรนด์ไลน์จะทำให้นักเทรดสามารถทราบว่าราคากำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง อีกทั้งยังสามารถใช้หากรอบของราคาที่มีแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงดังกล่าวได้อีกด้วย การตีเทรนด์ไลน์หาแนวโน้มของราคาจะต้องใช้จินตนาการพอสมควร เราสามารถหากรอบล่างของราคาโดยการลากเทรนด์ไลน์จากจุดสูงสุดของกรอบเวลาในอดีตไปหาจุดต่ำสุดของกรอบเวลาในช่วงล่าสุด ส่วนจุดสูงจุดของกรอบราคาจะต้องลากจากจุดสูงสุดของกรอบเวลาในอดีตไปหาจุดสูงสุดสุดของกรอบเวลาในช่วงล่าสุด เพียงแค่นี้ก็จะทราบแนวโน้มและกรอบของราคาแล้ว

- การใช้ Fibonacci
อีกเทคนิคหนึ่งที่ได้รับความนิยมก็คือการใช้หลักความสมมาตรของ Fibonacci ในการหากรอบของราคา วิเคราะห์ว่าราคาจะเคลื่อนไปอยู่ที่จุดไหน และควรจะตั้งค่า Stop loss เพื่อป้องกันการขาดทุนในระดับที่เกินกว่าจะรับได้ที่ระดับราคาใด Fibonacci ที่ตลาดนิยมก็จะมี Fibonacci Fans Fibonacci Expansion และ Fibonacci Expansion ซึ่ง Fibonacci Expansion จะได้รับความนิยมสูงสุด
- การใช้ Indicator ต่างๆ
การใช้ Indicator หรือเครื่องมือต่างๆ ก็สามารถช่วยนักเทรดให้อ่านกราฟเทคนิคได้อย่างสะดวกมากขึ้น โดย Indicator ที่นักเทรด Forex นิยมใช้ก็จะมี อินดิเคเตอร์บอกแนวโน้ม (ADX, MACD และ Aroon) อินดิเคเตอร์ที่บอกการเคลื่อนที่ของราคาหรือ Momentum (RSI และ Stochastic Oscillator) อินดิเคเตอร์ที่ช่วยบอกระดับความผันผวน (ATR และ Bollinger Bands) และอินดิเคเตอร์ที่ช่วยบ่งชี้ปริมาณการซื้อขาย (OBV)
การอ่านกราฟเทคนิคเป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้เวลาในการฝึกฝน นักเทรดแต่ละคนอาจจะถนัดวิธีการอ่านและใช้ Indicator ที่แตกต่างกันไป ประสบการณ์เท่านั้นที่จะบอกได้ว่าเทคนิคแบบไหนที่เหมาะกับเรา อย่างไรก็ตาม นักเทรดมักจะใช้หลายๆ เทคนิคผสมกันไปแล้วแต่แนวโน้มของตลาดในช่วงเวลาต่างๆ

การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจมหภาค (Macro Economy)
การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจก็เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่มีความแม่นยำพอสมควร แต่อาจจะไม่รวดเร็วเท่าการวิเคราะห์กราฟเทคนิค
การวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจจะสามารถทำได้จากการอ่านข่าว รวมถึงการติดตามปฏิทินการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ หรืออีเว้นท์ที่สำคัญ เช่น การประกาศขึ้นหรือลดดอกเบี้ยของธนาคารกลาง การประกาศงบดุลหรือการประกาศค่า CPI (ดัชนีราคาผู้บริโภค)
เหตุการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆ เหล่านี้จะช่วยบอกถึงแนวโน้มของอุปสงค์และอุปทาน (Demand & Supply) ของสกุลเงินต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น หากธนาคารกลางสหรัฐหรือ FED ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต่ำอันเนื้องมาจากโรคระบาด ก็มักจะเลือกทำ Quantitative Easing (QE) หรือมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณโดยการกว้านซื้อตราสารทางการเงินระยะกลาง – ยาว เรียกได้ว่าเป็นการอัดฉีดเงินเข้าระบบ ก็จะทำให้เงินในระบบมากขึ้น เมื่ออุปทานมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ก็จะทำให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง เป็นต้น
การวิเคราะห์ Forex ไม่ใช่แค่เพียงการวิเคราะห์กราฟอย่างเดียว แต่ต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและข่าวสารด้วยเพื่อความแม่นยำที่สุด นอกจากความสามารถในการวิเคราะห์แล้ว นักลงทุนควรจะต้องฝึกสติและการบริหารความเสี่ยงอย่างเคร่งครัดอีกด้วย